นำเข้าสินค้าจากจีน ด้วยการขนส่งทางเรือ ปัจจุบันเป็นการขนส่งด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าสินค้าในปริมาณมาก และไม่ได้เร่งรีบต้องใช้สินค้ามากนัก
โดยตู้คอนเทนเนอร์ขนส่ง ถูกคิดค้นและจดสิทธิบัตรขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1956 โดยชายชาวอเมริกันนามว่า Malcom McLean (มัลคอม แมคเลน) หรือ ‘บิดาแห่งตู้คอนเทนเนอร์’
ตู้คอนเทนเนอร์โดยทั่วไปจะมีขนาดมาตรฐานเดียวกัน มีโครงสร้างภายนอกที่แข็งแรง สามารถบรรจุสินค้าวางเรียงซ้อนกันได้ไม่น้อยกว่า 10 ชั้นและมีการยึดตู้แต่ละตู้ติดกัน ทำให้ตู้คอนเทนเนอร์เป็นมาตรฐานสากลและใช้กันทั่วโลก
ในปัจจุบัน ตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในการขนส่งทางเรือจะมีความปลอดภัยสูง และมีความเสี่ยงต่ำที่จะทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย อ่านเพิ่มเติม 8 ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าทางเรือ โดยสามารถแบ่งตู้คอนเทนเนอร์ออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. Dry Container
เป็นตู้คอนเทนเนอร์ตามมาตรฐานทั่วไป เหมาะสำหรับสินค้าทั่วไปที่ไม่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ ปัจจุบันมี 3 ขนาด ได้แก่ 20 40 และ 45 ฟุต
– ขนาด 20 ฟุต เหมาะสำหรับสินค้าที่มีปริมาตรไม่เยอะหรือน้ำหนักมาก เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล อาหารกระป๋อง ฯลฯ
– ขนาด 40 และ 45 ฟุต เหมาะสำหรับสินค้าปริมาตรเยอะ แต่น้ำหนักไม่มาก เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ยางรถยนต์ กระเป๋าเดินทาง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น
2. Refrigerator Container (ตู้ควบคุมอุณหภูมิ)
เป็นประเภทตู้สินค้า ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในตู้คอนเทนเนอร์ได้ +25 ถึง – 25 องศาเซลเซียส และบางชนิด (Super Freezer) ยังสามารถปรับอุณหภูมิได้ถึง – 60 องศาเซลเซียส เหมาะสำหรับสินค้าที่จำเป็นต้องรักษาอุณหภูมิให้คงที่โดยเฉพาะอาหารที่เน่าเสียง่าย เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผลไม้ ไอศกรีม ช็อคโกแล็ต สารเคมี ฯลฯ
การขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้ จึงมีค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าประเภทอื่น เนื่องจากมีการบวกค่าใช้จ่าย Electricity Fee เพิ่มขึ้น
3. Garment Container
ใช้สำหรับบรรจุสินค้า ที่เป็นเสื้อผ้าโดยเฉพาะ โดยจะมีราวแขวนเสื้อและถูกออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อขนส่งสินค้าจำพวกเสื้อผ้าแฟชั่น ซึ่งสามารถขนส่งได้โดยไม่ต้องพับและไม่ทำให้เสียรูปทรง
4. Flat-Rack
เป็นตู้คอนเทนเนอร์ที่มีพื้นราบ เปิดโล่ง ทั้งด้านบนและด้านข้างตามขนาดมาตรฐานของตู้คอนเทนเนอร์ มีฐานหรือพื้นสำหรับใส่สินค้าที่มีขนาดใหญ่ กว้างหรือสูงเป็นพิเศษ หรือสินค้าที่มีขนาดใหญ่กว่าและขนาดไม่พอดีกับตู้คอนเทนเนอร์ เช่น เครื่องจักร ท่อชนิดต่างๆ วัสดุก่อสร้าง หรือ ยานพาหนะ เป็นต้น ซึ่งมีทั้งขนาด 20 และ 40 ฟุตโดยตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้ มักจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าแบบอื่น เนื่องจากบนเรือมีพื้นที่จำกัดสำหรับการวางตู้สินค้าชนิดนี้
5. Open Top
ตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้ ส่วนมากมักจะมีขนาด 40 ฟุต ส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาไม่ให้มีหลังคา เพื่อใช้ในการวางสินค้าขนาดใหญ่ ซึ่งไม่สามารถขนย้ายผ่านประตูของตู้คอนเทนเนอร์ได้ และจำเป็นต้องขนย้ายโดยการยกส่วนบนของตูคอนเทนเนอร์แทน เช่น เครื่องจักร เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการขนส่งสินค้า จึงต้องคำนึงถึงประเภทสินค้า ปริมาณและขนาด งบประมาณ รวมทั้งควรทำประกันขนส่งสินค้าไว้ เพื่อให้สามารถขนส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันความเสี่ยงจากความเสียหายของสินค้าระหว่างการขนส่ง โดยเลือกตัวแทนขนส่งหรือชิปปิ้งที่มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานสากลอย่าง Hand Shipping ตัวแทนขนส่งที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีน ทั้งทางรถและทางเรือครบวงจร พร้อมจัดส่งสินค้าทั่วประเทศ เรทดี ได้สินค้าไว ไม่ต้องรอนาน
ที่มา: march.co.th/TD-Inter