ชิปปิ้ง วิธีจัดการขนส่งในสถานการณ์ไม่ปกติ:กรณีศึกษาจากวิกฤตโควิด-19

ชิปปิ้ง วิธีจัดการขนส่งในสถานการณ์ไม่ปกติ กรณีศึกษาจากวิกฤตโควิด-19-Handshipping ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง วิธีจัดการขนส่งในสถานการณ์ไม่ปกติ:กรณีศึกษาจากวิกฤตโควิด-19                                                                                                                                                                                              19 Handshipping 768x402

ชิปปิ้ง เนื่องจากช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั่วโลกประสบปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

ที่นอกจากจะทำให้การขนส่งหยุดชะงักแล้ว ยังทำให้ความสามารถในการขนส่งลดลงและส่งผลกระทบทั้งห่วงโซ่อุปทาน

        แต่ถึงอย่างนั้น การขนส่งและการนำเข้าสินค้าข้ามพรมแดนยังคงต้องดำเนินต่อไป เพียงแต่จำเป็นต้องมีการปรับตัวและอาศัยความพยายามมากขึ้น วันนี้ Hand Shipping ได้รวบรวม 3 วิธีจัดการการขนส่งในช่วงสถานการณ์ไม่ปกติ โดยนำเอากรณึศึกษาจากวิกฤตโควิด-19 มาเป็นข้อมูล เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจเตรียมพร้อมรับมือสำหรับสถานการณ์อื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ใหม่ในอนาคต 

      1. ประสิทธิภาพในการสื่อสาร

        สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินธุรกิจภายใต้วิกฤตและความไม่แน่นอนนั้น คือ การสื่อสารแบบเรียลไทม์ เพื่อให้ทุกฝ่ายทราบถึงสถานการณ์ในทุกช่วงเวลา พร้อมทั้งตระหนักถึงปัญหาและมีการแก้ปัญหาเชิงรุกอยู่เสมอ สิ่งที่ต้องทำ ได้แก่

–          ติดต่อกับพันธมิตรทางธุรกิจ และ Supplier ล่วงหน้า เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือปรับแผนการผลิตและป้องกันความล่าช้า รวมทั้งปัญหาติดขัดที่อาจเกิดขึ้นในช่วงวิกฤต

–          แจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา เนื่องในสถานการณ์เช่นนี้ ธุรกิจจึงต้องบริหารความคาดหวังของลูกค้าและชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกค้า เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง

–          คอยอัพเดตสถานการณ์ทางการเงินอยู่เสมอและแบ่งปันข้อมูลให้กับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกส่วน

 2. การวางแผนล่วงหน้า

เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบล่วงหน้า โดยการคาดการณ์บนพื้นฐานของสถานการณ์และแนวโน้มที่เป็นจริง เพื่อป้องกันความล่าช้าและสูญเสียค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล

–          โดยปกติสายเรือจะมี Freetime พื้นฐานในการเก็บรักษาสินค้าประมาณ 3-5 วัน ซึ่งหากเกินกว่านี้จะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นตามอัตราที่กำหนด ดังนั้นจึงต้องคอยเช็คค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าและควรได้รับการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อที่จะสามารถบริหารจัดการและจัดลำดับการส่งสินค้าได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งป้องกันการเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

–          หากมีความจำเป็นเร่งด่วน ให้ใช้บริการ Express Service เนื่องจากเป็นบริการขนส่งแบบด่วนที่มีความรวดเร็วและยังมีเวลาทำการเป็นปกติ

–          สำรวจ Demand ในช่วง 2-3 เดือนก่อนหน้า ว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงและวางแผนปรับเปลี่ยนการขนส่งให้เหมาะสม

         3. ตั้งงบประมาณอย่างรอบคอบ

         หากธุรกิจยังจำเป็นต้องขนส่งสินค้า โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าจากจีนหรือประเทศใดก็ตาม ควรเช็คเส้นทางการขนส่งที่อาจเปลี่ยนไปจากการปิดเมืองหรือปิดเส้นทาง อ่านต่อ โควิด-19 ทำอ่วม กระทบขนส่ง 7 ประเทศในเอเชีย รวมทั้งในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ ความต้องการขนส่งอาจมีมากกว่าปกติจากการช็อปออนไลน์ที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้การขนส่งหยุดชะงักและอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องพยายามควบคุมค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนหรือยอมลดผลกำไรลงเพื่อความอยู่รอดภายใต้สถานการณ์อันยากลำบาก โดยการเลือกใช้บริษัทขนส่งหรือตัวแทนชิปปิ้งที่เหมาะสมกับงบประมาณและมีคุณภาพมาตรฐานในการให้บริการ ซึ่งบริษัทที่มีการบริหารจัดการการขนส่งที่ดี จะทำให้มีปัญหาน้อย ทั้งนี้ผู้นำเข้าควรทำประกันภัยสินค้าก่อนนำเข้าทุกครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงสินค้าเสียหายจากเหตุไม่คาดฝันและเคลมค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดความเสียหายได้

อ้างอิง: scglogistics.co.th