นำเข้าสินค้าจากจีน เจาะลึกปัญหาน่าปวดหัวที่ร้านค้าออนไลน์ต้องเจอ

นำเข้าสินค้าจากจีน เจาะลึกปัญหาน่าปวดหัว ที่ร้านค้าออนไลน์ต้องเจอ Handshipping นำเข้าสินค้าจากจีน นำเข้าสินค้าจากจีน เจาะลึกปัญหาน่าปวดหัวที่ร้านค้าออนไลน์ต้องเจอ                                      768x402

นำเข้าสินค้าจากจีน เพราะตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ทำให้ผู้คนต่างหันมาประกอบกิจการร้านค้าออนไลน์กันเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันในไทยมีเจ้าของร้านค้าออนไลน์มากกว่า 200,000 ราย บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อย่าง Lazada, Shopee และอีกกว่า 300,000 ราย ที่ค้าขายบนโซเชียลคอมเมิร์ซ ทั้ง Facebook, LINE และ Instagram

แม้ว่าธุรกิจร้านค้าออนไลน์จะได้รับความนิยมต่อเนื่องจนติดอันดับต้นๆ ของอาชีพมาแรงใน ปี 2563 นี้ แต่ก็ใช่ว่าผู้ประกอบการจะประสบความสำเร็จได้ทุกราย Hand Shipping พามาเจาะลึกกับปัญหาที่ร้าค้าออนไลน์ต้องเผชิญ และวิธีการรับมือแก้ไขปัญหา มีอะไรบ้าง ไปติดตามกันเลย

1. สินค้าไม่มีความแตกต่าง
กว่า 60%ของร้านค้าออนไลน์ พบว่า สินค้าของตนนั้น ไม่มีความแตกต่างจากคู่แข่ง อีกทั้งยังเป็นสินค้าที่เหมือนๆกัน คุณภาพเหมือนกันอีกด้วย เนื่องจากซื้อสินค้าส่งมาจากแหล่ง เดียวกัน ถึง 40% ที่มีตัวเลือกค่อนข้างน้อย และไม่สามารถสั่งผลิตสินค้าแยกได้ เนื่องจากไม่คุ้มค่าการผลิตถึง 16%

แนวทางการแก้ปัญหา ร้าค้าออนไลน์สามารถสร้างความแตกต่างได้ด้วยวิธีที่จำเป็นอย่างมากในการทำการตลาด คือ ‘กลยุทธ์การตลาด’ เช่น
-การปรับปรุงหรือออกแบบหีบห่อบรรจุภัณ์ (แพกเกจจิ้ง) ให้สวยงาม ดึงดูดลูกค้า นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างแบรนด์ดิ้ง และสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค หรือมีบริการพิเศษ
-คิดสินค้าให้แตกต่าง และหา OEM (ผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง) โดยเริ่มจากการผลิตในปริมาณที่ไม่มากเกินไป ซึ่งแนวทางนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์ให้กับตนเอง และช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนได้ในระยะยาว
-เปลี่ยนแหล่งรับสินค้าหรือ นำเข้าสินค้าจากจีน บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยมที่มีผู้เล่นรายใหญ่ อย่าง Tmall Taobao 1688 มีสินค้าให้เลือกนับล้านชิ้น ทุกรูปแบบไม่เพียงแค่เสื้อผ้าเครื่องแตงกาย ประเภทและรายการสินค้า ทั้งดีไซน์ ไม่ซ้ำ มีความแตกต่าง ซึ่งการ นำเข้าสินค้าจากจีน นั้นเป็นที่นิยมของร้านค้าออนไลน์ รวมถึงร้านค้าพรีออเดอร์หลายๆ ร้าน

2. ผลตอบรับจากการยิงโฆษณาไม่เป็นที่พึงพอใจ
มีร้านค้าออนไลน์กว่า 23% ที่มองว่า ฟีดแบคจากการยิง Ads ออนไลน์ที่ลงทุนไปนั้น ไม่เป็นไปตามที่หวัง เนื่องจากยอดขายไม่เกิด และไม่ได้สร้างการรับรู้ร้านค้าเพิ่มขึ้น

แนวทางการแก้ปัญหา การประกอบธุรกิจร้านค้าออนไลน์ สิ่งที่สำคัญคือ การวิเคราะห์และทำความรู้จักลูกค้าของตนเองให้รอบด้าน รวมไปถึงความสนใจและไลฟ์สไตล์ของลูกค้า นอกเหนือจากนี้ อาจเสริมสร้างความรู้ด้านการโฆษณาด้วยการเข้าอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการเทคนิคการทำโฆษณาออนไลน์ ซึ่งการที่ผู้ประกอบการทราบถึงความมต้องการกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนนั้น จะทำให้การโฆษณามีประสิทธิภาพมากขึ้น และต้นทุนต่ำลง

3. ปัญหาการจัดส่งสินค้า
อาทิ สินค้าเสียหาย ส่งสินค้าล่าช้า ส่งสินค้าผิดที่ ลูกค้าปฏิเสธการรับสินค้า หรือลูกค้าคืนสินค้าหลังจากได้รับสินค้าแล้ว ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบข้อมูลก่อนการส่ง การเตรียมสินค้าเพื่อจัดส่ง ระหว่างการขนส่ง ไปจนถึงกระบวนการตรวจสอบ และรับสินค้า

แนวทางการแก้ไขปัญหา ร้านค้าออนไลน์สามารถลดความผิดพลาดที่จะเกิดขั้นในกระบวนการดังกล่าว ได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การทำระบบ การแปะรหัส ควรตรวจสอบสินค้าก่อนการส่ง และดูแลการบรรจุสินค้าอย่างแน่นหนาหรือเลือกใช้บริการ Pick & Pack เพื่อลดขั้นตอนการทำงานบางส่วนออกไป เพื่อจะมีเวลาในการบริการลูกค้ามากขึ้น ทั้งนี้ควรพิจารณาเลือกบริษัทขนส่งที่มีบริการดี น่าเชื่อถือ ก็จะช่วยลดปัญหาความไม่พึงพอใจของลูกค้าได้

4. เข้าร่วมเทศกาลลดราคา แต่ขาดศักยภาพในการแบกรับออเดอร์ที่มากล้น
ร้านค้าออนไลน์กว่า 61% ต้องการเงินทุนที่เพียงพอในการเข้าร่วมเทศกาลลดราคาครั้งใหญ่ ที่ทางแพลตฟอร์มจัดขึ้น อาทิ Taobao Tmall ซึ่งจัดเทศกาลลดราคา 11 เดือน 11 ฯลฯ ช่วงเวลางดังกล่าว ถือเป็น ‘ช่วงเวลาทองคำ’ ที่ร้านค้าออนไลน์จะสามารถเพิ่มยอดขายได้มากถึง 20-100 เท่า อย่างไรก็ตาม บางครั้ง การเข้าร่วมเทศกาลลดราคา ร้านค้าควรพิจารณาดูศักยภาพและความสามารถในการจัดการและส่งสินค้าให้กับลูกค้า มีร้านค้าออนไลน์จำนวนมากที่ประสบปัญหาไม่สามารถรองรับออเดอร์ของลูกค้าได้ในช่วง Mega Sale ทำให้ลูกค้าไม่ได้รับสินค้าบ้าง ยอดออเดอร์ตกหล่นบ้าง ปัญหาดังกล่าวจะยิ่งทำให้ลูกค้าหมดความน่าเชื่อถือ และเลิกสั่งสินค้าจากร้านในครั้งหน้า

แนวทางแก้ไขปัญหา ร้านค้าออนไลน์ควรมีการวางแผนการเงินที่ดี จัดการระบบของร้านค้า ทั้งเรื่องกำลังคน ระบบการรองรับออเดอร์ และวางแผนการจัดส่งให้เป็นระบบ หากพิจารณาดูแล้วว่าร้านค้าของตัวเองยังมีขนาดเล็กและศักยภาพไม่เพียงพอ ก็ควรตั้งหลักให้พร้อมก่อนจะดีกว่า

5. ระบบการสต๊อกสินค้า
มากกว่า 80% ของร้านค้าออนไลน์ มีการขายสินค้าผ่านทางออฟไลน์ และขายสินค้าออนไลน์มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม โดย 37% มีปัญหาการบริหารสต็อก ทำให้สูญเสียโอกาสการขาย เสียพื้นที่โกดังเก็บของ เพิ่มต้นทุน และเงินทุนจม

แนวทางการแก้ไขปัญหา ควรมีระบบจัดการที่ชัดเจน มีการอัพเดทตลอดเวลา และควรเก็บข้อมูลสต็อกไว้ในที่เดียว หรือใช้โปรแกรมหรือระบบอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อช่วยการบริหารสต็อกสินค้า

Hand Shipping นำเข้าสินค้าจากจีนมาไทยครบวงจรที่ผู้นำเข้าและร้านพรีออเดอร์จีนให้ความไว้ใจ