ชิปปิ้ง เงินบาทแข็งค่าปี 63 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจนำเข้าส่งออกอย่างไร ?

ชิปปิ้ง เงินบาทแข็งค่าปี 63 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจนำเข้าส่งออกอย่างไร? Handshipping ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง เงินบาทแข็งค่าปี 63 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจนำเข้าส่งออกอย่างไร ?                                            768x402

ชิปปิ้ง Handshipping ผู้นำเข้าสินค้าจากจีน เกาะติดสถานการณ์ค่าเงินบาทในช่วงสิ้นปีที่ 2562 ที่ผ่านมา พบว่ามีการแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่จับตามองจากหลายๆ ฝ่าย 

ด้านแบงก์ชาติกล่าวว่า การแข็งค่าอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลมาจากสภาพคล่องในตลาดเงินที่อยู่ในระดับต่ำในช่วงวันหยุดเทศกาล ทำให้การทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราไม่สมดุล อีกทั้งยังเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน

ข้อมูลจาก สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เผยว่า ปี 2563 หากค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ 30.5 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกไทยจะขยายตัว 0-1 % จากปี 2562 หรือมีมูลค่า 251,250 ล้านเหรียญ แต่หากค่าเงินบาทหล่นลงมาที่ 29 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ การส่งออกจะติดลบ 2.85 ด้วยมูลค่า 242,493 ล้านเหรียญ และหากค่าเงินร่วงอยู่ที่ 28.50 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ การส่งออกจะติดลบหนักถึง 5% ด้วยมูลค่า 237,493 ล้านเหรียญ ซึ่งนักวิเคราะห์จากหลายสถาบันได้วิเคราะห์ตรงกันว่า ค่าเงินบาทอาจจะแข็งค่าถึง 28 บาท/ดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือแข็งค่ากว่านี้

ด้านศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรืออีไอซี (SCB EIC หรือศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ) นำเสนอบทวิเคราะห์มุมมองค่าเงินบาทในปี 2563 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเตรียมตัวพร้อมรับมือต่อความผันผวนของค่าเงินในระยะต่อไป โดยมองว่าค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จากปัจจัยดังต่อไปนี้

1. มูลค่าการส่งออก-นำเข้ามีแนวโน้มทรงตัว จากปีก่อน ด้านการลงทุนในประเทศยังคงอยู่ในสภาวะซบเซา และดุลบัญชีเดินสะพัดไทยในปี 2563 ยังคงสูงใกล้เคียงในปี 2562

2.ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกปรับลดลง ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้มไหลกลับเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย รวมถึงไทย โดยการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีความคืบหน้า จึงเป็นปัจจัยที่ลดความเสี่ยงด้านต่ำของภาคส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวมของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย

3.ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีโอกาสปรับอ่อนค่าลงอีกเล็กน้อย ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้มีความต้องการถือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสกุลเงินหลักของโลกและมีความเสี่ยงต่ำ ทั้งนี้ในระยะต่อไปที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับดีขึ้น ความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกลดลง ทำให้ความต้องการถือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับลดลงมาด้วย

4.ข้อจำกัดของแบงก์ชาติ ในการผ่อนคลายนโยบายการเงินและดูแลอัตราแลกเปลี่ยน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายมีส่วนช่วยให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศนั้นๆ อ่อนค่าลง
จากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดในประวัติการณ์ ทำให้ความสามารถในการดูแลค่าเงินบาทผ่านช่องทางนี้ลดลง นอกจากนี้ไทยยังต้องเผชิญต่อความเสี่ยงที่อาจถูกจัดเป็นประเทศผู้บิดเบือนค่าเงิน

5. เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่า ทำให้ค่าเงินในภูมิภาครวมถึงเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตาม เนื่องจากระยะต่อไปสงครามการค้ามีแนวโน้มลดความรุนแรงลง ความเชื่อมั่นของนักลงทุนโลกมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม การที่ค่าเงินบาทไทยแข็งค่าที่สุดในภูมิภาคตั้งแต่ปีที่ผ่านจนถึงปัจจุบันนั้น ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจปีนี้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะธุรกิจการส่งออกที่คาดว่าจะกระทบรุนแรงหนักเนื่องจากผู้ส่งออกจะขายสินค้าได้กำไรลดลง ในขณะที่ด้านการนำเข้าสินค้า(ชิปปิ้ง) นั้นอาจไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เพราะเมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ผู้นำเข้าก็จะมีต้นทุนต่ำลงในการซื้อสินค้าโดยเฉพาะหากเป็นสินค้าวัตถุดิบ หากเมื่อมองในภาพรวมด้านเศรษฐกิจของประเทศ ค่าเงินบาทแข็งขึ้น ย่อมเกิดภาวะไม่สมดุลทางเศรษฐกิจของประเทศ

ดังนั้น เรื่องค่าเงินบาทมีการปรับตัวขึ้นลงนั้น จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้นำเข้าและส่งออกต้องติดตามความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ต้นทุนหรือกำไรทางธุรกิจ