นำเข้าสินค้าจากจีน 5 วิธีรับมือช่วงวิกฤตโควิด-19 ถาโถม

นำเข้าสินค้าจากจีน 5 วิธีรับมือช่วงวิกฤตโควิด-19- Handshipping นำเข้าสินค้าจากจีน นำเข้าสินค้าจากจีน 5 วิธีรับมือช่วงวิกฤตโควิด-19 ถาโถม                                                        5                                                                          19 Handshipping 768x402

นำเข้าสินค้าจากจีน จากการระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้ธุรกิจและประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบจากภัยร้ายในครั้งนี้ หลายธุรกิจต้องหยุดชะงักไปและปิดตัวลงในที่สุด

จากข้อมูลของ GroupM กลุ่มเอเจนซี่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อชั้นนำระดับโลกในเครือ WPP (Wire and Plastic Products)

พบว่า การระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดความผันผวนของค่าเงินบาทมาตั้งแต่ต้นปี โดยเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตัวเลขการนำเข้า-ส่งออกระหว่างไทยกับจีนมีอัตราลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 

        อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกรวมถึงประเทศไทยยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก นอกจากนี้ หลังจากปิดสถานที่ทำงาน, สถานศึกษา, ร้านค้า และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดและเน้นให้ผู้คนอยู่กับบ้านมากขึ้นนั้น ทำให้เทรนด์การค้นหาคำหรือข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ, ไวรัสโควิด-19 และหน้ากากอนามัยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งมีจำนวนการติดตามสถานการณ์ และข่าวสารผ่านช่องทางออนไลน์และทีวีสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิง

        แต่อย่างไรก็ตาม ยอดการค้าปลีกออนไลน์กลับมีการเติบโตที่สูงขึ้นในไตรมาสแรกที่ผ่านมาและคาดการณ์ว่าตลาดออนไลน์แพลตฟอร์มอื่นๆ จะมีทิศทางที่ดีขึ้นเช่นเดียวกัน ด้านร้านอาหารต่างๆ ได้มีการมุ่งหน้าเข้าสู่ตลาด Delivery อย่างแพร่หลาย ดังนั้นธุรกิจทั้งหลายจึงต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อช่วยให้ทุกอุตสาหกรรมเดินหน้าต่อไปได้ ด้วย 5 แนวทาง ดังนี้

       1. ปรับเปลี่ยนธุรกิจ หากเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่น ร้านอาหาร โรงแรม การท่องเที่ยว จะต้องปรับตัวให้ได้โดยเร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการลดราคา การปรับเปลี่ยนระยะเวลาการเช่า การให้บริการเดลิเวอรี่หรือสร้างแพ็คเกจต่างๆ ให้เข้ากับสถานการณ์มากขึ้น

       2. มองหาแพล็ตฟอร์มใหม่ๆ เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ที่บ้าน สิ่งที่จะเข้าถึงลูกค้าได้ดีที่สุดคือแพล็ตฟอร์มออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นสื่อโซเชียลมีเดียหลากหลายช่องทางหรืออีคอมเมิร์ซ ที่สามารถกระตุ้นผู้บริโภคและขับเคลื่อนธุรกิจให้อยู่รอดได้

       3.  หาช่องทางเพิ่มรายได้ การเปิดธุรกิจใหม่ในช่วงนี้อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก หากไม่ใช่สินค้าที่จำเป็น แต่สามารถมองหาสินค้าจำเป็นที่คนส่วนใหญ่ต้องการและนำมาขายหรือให้บริการ แม้จะเป็นการขายแบบชั่วคราว แต่ก็พอจะช่วยลดภาระต่างๆ ลงได้บ้าง

       4. ให้บริการถึงที่ ในช่วงกักตัวถือเป็นช่วงที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ออกจากบ้านหรือเดินทาง การให้บริการถึงที่ จึงเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากในช่วงเวลานี้ อ่านต่อได้ที่ 6 เทคนิคการจัดส่งที่มีประสิทธิภาพ ช่วงร้านค้าขายดี รวมทั้งการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทั้งในและต่างประเทศ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ อย่าง Hand Shipping ขนส่งจากจีนมาไทย ที่ให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนมายาวนานและต่อเนื่องแม้ในช่วงเกิดวิกฤตไวรัสโคโรนา ด้วยมาตรฐานสากลและบริการจัดส่งถึงที่ทั่วประเทศ จึงเป็นตัวช่วยที่ดีของธุรกิจในช่วงนี้ 

       5. เข้าหาลูกค้า ปัจจุบันการทำธุรกิจไม่มีอะไรที่แน่นอน และนิ่งนอนใจได้อีกต่อไป เนื่องจากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้คนส่วนใหญ่ใช้เงินน้อยลงและคิดก่อนซื้อมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภค โดยทำการตลาดออนไลน์ เพื่อช่วยให้ผู้คนเข้าถึงสินค้าได้มากยิ่งขึ้น

        จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ธุรกิจจะต้องปรับตัวให้เร็วที่สุดและเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลังจากสถานการณ์เหล่านี้จบลงก็ไม่อาจคาดเดาได้แน่ชัดว่าเทรนด์ต่างๆ เหล่านี้จะกลับสู่สภาวะปกติดังเดิมหรือเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล