ชิปปิ้ง 8 ช่องทางรับชำระภาษีออนไลน์ ก้าวสู่สังคมไร้เงินสด

ชิปปิ้ง 8 ช่องทางรับชำระภาษีออนไลน์ ก้าวสู่สังคมไร้เงินสด-Handshipping (2) ชิปปิ้ง ชิปปิ้ง 8 ช่องทางรับชำระภาษีออนไลน์ ก้าวสู่สังคมไร้เงินสด 8                                                                                                                                             Handshipping 2 768x402

ชิปปิ้ง จากการที่กรมศุลกากรได้มีระบบชำระภาษีอากร ค่าธรรมเนียม รายได้อื่น รวมทั้งเงินประกันทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Payment โดยวิธีตัดบัญชีของผู้ประกอบการตั้งแต่ปี 2550

และได้พัฒนาระบบการรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม โดยผ่านตัวแทนรับชำระ Bill Payment และช่องทางธนาคาร ซึ่งได้เปิดให้บริการเมื่อ 14 มกราคม 2562

       ผู้ประกอบการสามารถชำระผ่านช่องทางการให้บริการของแต่ละธนาคารที่เปิดให้บริการ อาทิ การชำระผ่านระบบ Internet Banking , Mobile Banking , ATM และเคาน์เตอร์ธนาคาร เพื่อให้ระบบการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร ประสบผลสำเร็จและเข้าสู่การเป็นสังคม ไร้เงินสด

       ปัจจุบัน กรมศุลกากรได้รับความร่วมมือจากธนาคารและตัวแทนรับชำระที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 6 ธนาคารและตัวแทนรับชำระ 2 ราย ได้แก่

     1.  ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้บริการรับชำระค่าภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านช่องทางธนาคารโดยได้ร่วมกับกรมศุลกากร พัฒนาระบบและเชื่อมโยงข้อมูลการรับชำระเงินสดแบบ Real Time ทั้งสาขาธนาคาร ตู้ ATM แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT และ Krungthai Corporate Online รวมทั้งได้ออกบัตร Krungthai Logistics Card ที่สามารถชำระภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นๆ ทั้งการนำเข้าและส่งออก รองรับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่ครอบคลุมการจ่ายค่าบริการให้กับหน่วยงานกรมศุลกากรทุกประเภท

     2.  ธนาคารออมสิน สนับสนุนนโยบาย Digital Customer ของกรมศุลกากร โดยเพิ่มช่องทางการรับชำระค่าภาษี ใบสั่งเก็บ ใบขนส่งสินค้าและใบแจ้งหนี้ของกรมศุลกากร ผู้ประกอบการสามารถชำระภาษีดังกล่าวได้ผ่าน Mobile Banking (MyMo) และบริการ GSB Corporate Internet Banking ซึ่งมีระบบเชื่อมต่อข้อมูลกับกรมศุลกากร เพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการชำระเงินอีกด้วย

     3. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) รับผิดชอบผลิตภัณฑ์ Cash Management และพาณิชย์บริการ ร่วมสนับสนุนระบบชำระค่าภาษีอากรผ่านระบบ e-Payment ของกรมศุลกากร ลูกค้าสามารถชำระภาษีใบสั่งเก็บ ใบขนสินค้าและใบแจ้งหนี้ได้ผ่านเคาเตอร์ธนาคาร ATM และ Bualuang m-Banking ซึ่งระบบจะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการชำระเงินแบบ Real Time นอกจากนี้ ยังมีบริการ Customs Paperless e-Payment ให้บริการชำระค่าภาษีศุลกากรออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน 

      4. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ให้บริการชำระค่าภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถชำระได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงินได้ทันทีและสามารถเลือกชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีฯ ทั่วประเทศ

      5.  ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ให้บริการรับชำระเงินแก่ธุรกิจ ตลอดจนกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการหรือ SME ที่ต้องการชำระเงินให้แก่กรมศุลกากร ครอบคลุมทั้งค่าพิธีการศุลกากร ใบสั่งเก็บเงิน และค่าธรรมเนียมผ่านระบบ e-Bill Payment ของธนาคาร รวมทั้งให้บริการชำระเงินด้วย K-Cash Connect Plus เพื่อหนุนการดำเนินงานแก่ธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

      6. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาช่องทางการชำระภาษีอากร ที่เชื่อมระบบข้อมูลกับกรมศุลกากรอย่างถูกต้องแม่นยำ ผ่านแพล็ตฟอร์ม SCB Business Net และ SCB Business Anywhere สำหรับลูกค้าบุคคลสามารถชำระภาษีผ่าน SCB Easy App ได้ตลอด 24 ชม.

       7. เคาน์เตอร์เซอร์วิส ให้บริการรับชำระภาษีอากรทางอิเล็กทรอนิกส์ (Bill Payment) สำหรับชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ของกรมศุลกากร อาทิ ค่าใบขนสินค้า ค่าใบสั่งเก็บและค่าธรรมเนียมศุลกากร ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั้งใน 7-11 และเคาน์เตอร์เซอร์วิสตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ กว่า 13,000 สาขาทั่วประเทศ

       8.  บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ให้บริการรับชำระค่าภาษีอากรใบขนสินค้า และใบสั่งเก็บทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ของกรมศุลกากร ผ่านบริการ BIG C BIG Service (บิ๊กซี บิ๊กเซอร์วิส)ได้ทุกเคาน์เตอร์แคชเชียร์ที่บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์, บิ๊กซี มาร์เก็ต, มินิบิ๊กซี และร้านขายยาเพรียว ทั้งสิ้นกว่า 1,300 สาขาทั่วประเทศ

        ทั้งนี้ กรมศุลกากรมีแนวทางดำเนินการต่อยอด เพื่อรองรับการให้บริการรับชำระค่าภาษีอากร ค่าธรรมเนียม รายได้อื่นๆ รวมทั้งเงินประกันผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบ Bill Payment (MOU) โดยมีเป้าหมายให้ธนาคารที่เป็นพันธมิตรกับกรมศุลกากรเข้าร่วมโครงการและศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประกอบการที่มีการชำระด้วยแคชเชียร์เช็คที่มีปริมาณสูง รวมทั้งส่งหนังสือขอความร่วมมือถึงผู้ประกอบการโดยตรงและมีการเข้าพบผู้บริหาร ณ สถานประกอบการ เพื่อเชิญชวนให้ชำระผ่านระบบ Bill Payment เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด 100 % ตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้สินค้าบางประเภทยังได้รับการยกเว้นอากรจากกรมศุลกากร อ่านต่อที่ 9 ประเภทของสินค้าที่ได้รับการยกเว้นอากร

         สำหรับผู้ที่นำเข้าสินค้าจากจีนกับ Handshipping สามารถนำเข้าสินค้าได้ด้วยขั้นตอนที่สะดวกสบายผ่านระบบออนไลน์และไม่มีขั้นตอนในการชำระภาษีที่ยุ่งยาก ด้วยบริการชิปปิ้งสินค้าจากจีนพร้อมชำระภาษีอากรเสร็จสรรพทุกขั้นตอนจากทีมงานมืออาชีพและจัดส่งสินค้าถึงที่ทั่วประเทศ