Shipping จีน การทำธุรกิจในยุคนี้ มีข้อได้เปรียบจากการทำธุรกิจยุคก่อนมากมาย อย่างน้อยก็มีเครื่องมือทางการตลาดอย่าง Social Media ที่ทำให้ใช้งานได้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเลือกใช้แพลตฟอร์มได้ตรงจุด เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและเนื้อหาที่ต้องการสื่อออกไปด้วยแล้ว ยิ่งช่วยให้สินค้าและธุรกิจของคุณได้รับความสนใจ และเป็นที่รู้จักในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่ให้บริการ ธุรกิจจำหน่ายสินค้า ธุรกิจ Shipping จีน ฯลฯ ผลลัพธ์ที่ได้ ก็คือยอดขายทะลุเป้านั่นเอง
Handshipping แนะนำแพลตฟอร์มยอดนิยมในสังคมออนไลน์ ซึ่งได้รับความนิยมในการใช้งาน นอกจากจะสร้างความเพลิดเพลิน เป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจ เสพข้อมูลและเรื่องราวแบบเจาะลึกแล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการตลาด อาทิ ธุรกิจนำเข้าสินค้า ธุรกิจ Shipping จีน ฯลฯ ส่วนมีแพลตฟอร์มอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย
1. Tik Tok แอปฯ ทำวีดิโอคลิป สัญชาติจีน
แพลตฟอร์มสนุกๆ จากประเทศจีน ประเทศที่ขึ้นชื่อในด้านการนำเข้าสินค้า และธุรกิจ Shipping จีน ฯลฯ โดยแพลตฟอร์มดังกล่าวนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ครีเอทคอนเทนต์ในรูปแบบวิดิโอสั้น ที่มีความยาวไม่เกิน 15 วินาที ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการรับชมคอนเทนต์รูปแบบสั้นๆ แรกเริ่มที่เปิดตัวนั้น ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในเมืองไทย พบว่าส่วนใหญ่ผู้ใช้จะมีอายุเฉลี่ย 15 ปี โดยไทยติดท็อป 3 ประเทศในโลก รวมทั้งเวียดนามและอินโดนีเซีย ที่มีการเติบโตของการใช้งานสูงสุด หลักการของ Tik Tok เป็นการดึงผู้ชมให้เข้ามามีประสบการณ์ร่วมภายในแอป ทั้งการชมเนื้อหาที่ชื่นชอบ การสร้างวีดิโอในสไตล์ของตนเอง โดยผู้ใช้สามารถตัดต่อให้จบได้ภายในแอปฯ เดียว และในไตรมาสแรกของปี 2019 Tik Tok ขึ้นทยานสู่แอปพลิคั่นยอดนิยมบน IOS สูงสุดในระดับโลก
2. Snapchat แอปฯ แชท สัญชาติอเมริกา
Snapchat แอปฯ วีดิโอแชทสัญชาติอเมริกา ใช้สำหรับแชทหากันได้โดยไม่ใช้วีดิโอ ฟังก์ชั่นของมันใช้ส่งข้อความได้ทั้งข้อความ ภาพ และวีดิโอ โดยจำกัดความยาวของวีดิโออยู่ที่ 15 วินาที ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่เด็กวัยรุ่นจนถึงวัยทำงาน ก่อตั้งโดยอีวาน สปีเกล นักธุรกิจชาวอเมริกัน ที่สร้าง Snapchat ขึ้นตั้งแต่ที่เขายังเรียนไม่จบ และแม้จะเปิดตัวในปี 2011 แต่ Snapchat ก็ขึ้นแท่นแพลตฟอร์มที่เติบโตเร็วที่สุด เมื่อเทียบกับ Facebook ที่เปิดตัวในปี 2004, Twitter 2006 และ Instagram 2010 ในปี 2015 Snapchat มีจำนวนผู้ใช้อยู่ที่ 200 ล้าน Users ต่อเดือน และ 400 ล้าน Users ต่อวัน ช่วงอายุเฉลี่ยของการเล่นอยู่ที่ 13-34 ปี ซึ่งเป็นวัยรุ่นและเป็นตลาดที่แอปฯ แชทอื่นๆ ไม่สามารถเจาะเข้าได้
3. Twitter ช่องทางสื่อสารออนไลน์ เจาะลึกทุกเรื่องที่คนอยากรู้
จุดเริ่มต้นของ Twiter เกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นช่องทางการสื่อสารทางการตลาดในสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่บริษัทต่างๆ จะมีบัญชีผู้ใช้งานใน Twitter อย่างน้อย 1 Account ส่วนแพลตฟอร์มนี้ในเมืองไทย ก็ถือว่าเติบโตเร็วสูงสุดเช่นกัน โดยติดอันดับ 5 ของโลก ที่มีผู้ใช้สูงสุด ซึ่ง 68% เป็นกลุ่ม Millennials ในขณะที่มีผู้ใช้งานทั่วโลกเป็นจำนวนสูงถึง 680 ล้านคน ปัจจุบัน ยังไม่มีแบรนด์ใดที่สามารถครองความเป็นเจ้าของจำนวน Top Retweet ได้มากเกิน 1 เดือน ดังนั้น Platform นี้ จึงยังไม่ได้มีเจ้าตลาดที่ชัดเจนนัก
4. Vero แอปฯ แชร์รูปที่ไร้โฆษณากวนใจ
แอปฯ ที่การันตีว่าเป็น ‘โซเชียลมีเดียวของแท้’ เพราะสามารถแชร์รูปภาพได้ แชร์ลิ้งค์จากเว็บไซต์ แชร์เพลงจากแอปพลิเคชั่นสตรีมมิ่ง ภาพยนตร์ รายการทีวี หนังสือ ฯลฯ จะว่าไปแล้ว Vero มีความคล้ายคลึงกับ Instragram เป็นอย่างมาก หากแต่ความต่างของมันอยู่ตรงที่ผู้ใช้สามารถตั้งระบบความเป็นส่วนตัวได้อย่างเฉพาะเจาะจงตามรูปที่โพสต์ โดยจะควบคุมการมองเห็นโพสต์ได้ถึง 4 ระดับ ได้แก่ เฉพาะให้เพื่อนสนิทเห็น หรือเพื่อน หรือคนแปลกหน้า หรือผู้ติดตามเห็น ในขณะที่ Instragram การตั้งค่าจะต้องตั้งเป็นบัญชีผู้ใช้เท่านั้น นอกจากนี้ Vero ยังประกาศตัวชัดว่า จะเป็นโซเชียลมีเดียวที่ไม่มีโฆษณา แต่สมาชิกต้องจ่ายเงินค่าสมัครเป็นแบบรายปี ซึ่ง Vero เรียกเก็บในราคาไม่แพง เพราะต้องการสร้างแพลตฟอร์มนี้ให้เป็นโซเชียลมีเดียอย่างแท้จริง
5. Pinterest แพลตฟอร์มที่รวมภาพจากทุกมุมโลก
Pinterest แพลตฟอร์มที่รวมคลังภาพนับล้าน เป็นไอเดียและแรงบันดาลใจใหม่ๆ ให้กับผู้คนมากมายที่นำไปต่อยอดทางความคิด ภายหลังแพลตฟอร์มนี้ได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนมีนาคม 2010 ก็สามารถสร้างกระแสได้อย่างรวดเร็ว ติด 10 อันดับเว็บ Social Network ที่คนควรเข้า ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้าชมประมาณ 40 ล้านคนต่อเดือน สำหรับสิ่งที่ Pinterest แตกต่างไปจาก Social Network อื่นๆ ก็คือ Pinterest เชื่อว่าภาพ 1 ภาพ ใช้แทนคำพูดได้นับล้าน จึงใช้ภาพในการสื่อสารเป็นหลักและใส่ตัวอักษรลงไปให้น้อยที่สุด ทำให้การมองหาข้อมูลเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว ในขณะที่ Facebook กับ Twitter ใช้คำพูดในการสื่อสารมากกว่าภาพ ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องอ่านก่อนถึงจะรับข้อมูลได้